จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Theory Transaction Distance


Theory of Transactional Distance

ประวัติความเป็นมาของ Theory of Transactional Distance
Theory of Transactional Distance ทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1972 ซึ่ง Moore ได้พยายามสร้างเอกลักษณ์ของสาขาของการวิจัยทางการศึกษาที่ไม่ได้รับการยอมรับมาก่อนนี้ ทฤษฎีนี้ได้ระบุและพรรณนาว่าการสอนและการเรียนแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียน แต่สามารถเรียนในสถานที่อื่นๆ ได้ ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงได้ตอบโจทย์ปัญหาเก่าๆ ที่ว่า ลักษณะของการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลจากกัน (ครูและผู้เรียนอยู่ต่างสถานที่ ต่างเวลากัน) จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร ซึ่ง Mooreได้กล่าวว่า ลักษณะของการเรียนการสอนดังกล่าวนั้นสามารถเรียนรู้ได้โดยการเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ  นั่นคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย นั่นเอง เดิมมีชื่อว่า Distance Education หรือต่อมารู้จักในชื่อของ Distributed learning, tele-learning และ e-learning หรือรู้จักในชื่อของ open learning, blended learning และ flexi-learning

องค์ประกอบของ Transactional Distance
Transactional distance มีองค์ประกอบใหญ่ๆอยู่ 2 องค์ประกอบ คือ
1.       dialogue คือ การเรียนการสอนที่อาศัยบทสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2.       structure คือ การเรียนการสอนแบบสำเร็จรูป โดยมีโครงสร้างหรือวิธีการเรียนที่
เป็นระบบ เช่น ประกอบด้วย จุดประสงค์ เนื้อหา การนำเสนอเนื้อหา กรณีศึกษา รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว กิจกรรม แบบฝึกหัด คำถามสำหรับการอภิปราย โครงงาน การทดสอบ (สื่อการเรียนการสอน)

ลักษณะของ Transaction Distance
                ตามทฤษฎีของ Transaction Distance นั้น Distance หมายถึง ช่องว่างในการสื่อสารระหว่างครูและผู้เรียน
                Distance learning แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
more distance คือ ช่องว่างระหว่างครูกับผู้เรียนที่มีมาก (การที่ครูและผู้เรียนอยู่ต่างที่ ต่างเวลากัน)
less distance คือ ช่องว่างระหว่างครูกับผู้เรียนที่มีน้อย (การที่ครูและผู้เรียนอยู่ด้วยกัน)



ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี Transaction Distance กับการใช้สื่อ
more distance สื่อจะมีลักษณะเป็น structure มากกว่า และเป็น dialogue น้อยกว่า จึงทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง (autonomy) ได้ดีกว่า
less distance สื่อจะมีลักษณะเป็น dialogue มากกว่า และเป็น structure น้อยกว่า  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้น้อยกว่า
ตามแผนผังดังนี้


การอธิบายแผนผัง
                จากแผนผัง อธิบายได้ว่าในแนวนอนที่เป็น dialogue คือความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และในแนวตั้งที่เป็น Structure คือความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหากับผู้เรียน ถ้าเส้น distance (เส้นกลาง) ยิ่งสูงขึ้นคือช่องว่างระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนยิ่งสูงขึ้น ความเป็น dialogue จะลดต่ำลงและความเป็น structure จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เปรียบเทียบกับกรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ของ เอดการ์ เดล ดังนี้คือ


กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
ที่มา : เอ็ดการ์ เดล (Dale, 1969)
เอดการ์ เดล เป็นนักทฤษฎีในด้านการสื่อสารของมนุษย์และเทคโนโลยีการสอน ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยได้พัฒนาความคิดของบรุนเนอร์ (Bruner) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น กรวยประสบการณ์
ขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท ดังนี้
1.  ประสบการณ์ตรง  เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  ซึ่งเกิดจากการได้ปฏิบัติกิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง
2.  ประสบการณ์รอง  เป็นประสบการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้  อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน  มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป    ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้ จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มี  ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด  เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและง่ายต่อความเข้าใจ  เช่น  สถานการณ์จำลอง  หุ่นจำลอง   เป็นต้น
3.  ประสบการณ์นาฏการ เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรือใกล้เคียงกับประสบการณ์จริง  เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนด้วยเหตุที่มี ข้อจำกัดต่างๆ ได้แก่   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต  สถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม  ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้   เช่น  การแสดงละคร  บทบาทสมมุติ  เป็นต้น
4.  การสาธิต  เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นแบบอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
5.  การศึกษานอกสถานที่  เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพความเป็นจริง 
6.  นิทรรศการ  เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลาย ๆ ด้าน มาจัดแสดงผสมผสานร่วมกัน
7.  โทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ   แต่โทรทัศน์  มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนตร์  เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น  ในขณะนั้นมาให้ชมได้ในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า การถ่ายทอดสดในขณะที่ภาพยนตร์เป็น การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึงจะนำมาฉายให้ชมได้
8.  การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง เป็นประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาหรือทางหู  เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
9.  ทัศนสัญลักษณ์  เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา  
10. วจนสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา
                จากกรวยประสบการณ์ จะเห็นว่าในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้นั้น    จะสอดคล้องตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีประสบการณ์การเรียนรู้ต่ำ ลักษณะของสื่อจะมีความเป็นรูปธรรมมากและสื่อจะค่อยๆมีความเป็นนามธรรมที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งสื่อมีความนามธรรมสูงขึ้นเท่าใด ผู้เรียนก็ยิ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในการคิดวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การเลือกใช้สื่อใดๆก็ตาม ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน นั่นคือ ยิ่งผู้เรียนมีประสบการณ์ในการเรียนรู้สูง สื่อก็ต้องมีความเป็นนามธรรมสูงขึ้นตามไปด้วย
                จากกรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ของ เอดการ์ เดล จึงมีความสัมพันธ์กับ Theory of Transactional Distance คือ ยิ่งมีการใช้สื่อมากหรือระดับของสื่อมีคุณภาพสูง โดยอาศัยศักยภาพของ technologie ช่วย ทำให้relationship ระหว่างครูกับผู้เรียนลดต่ำลง และส่งเสริมความเป็น autonomy ของผู้เรียนได้มากกว่า
  
สรุป
                ดังนั้น ทฤษฎี Transactional Distance ของ Michael Moore กล่าวถึง ลักษณะของการเรียนการสอนแบบ Dialogue หรือการสอนโดยการบรรยาย จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีการใช้ Structure หรือสื่อเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งสื่อสามารถใช้สอนแทน Dialogue ได้ จึงทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีลักษณะเป็น Autonomy มาก นั่นคือผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองมากขึ้นตามลำดับนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง
Dale, Edgar. 1969 Audiovisual methods in teaching, third edition. New York: The
Dryden Press; Holt, Rinehart and Winston.
Moore, Michael Grahame. 2007 Handbook of Distance Education. New Jersey London:
Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.


CAP : Contract Activity Package

CAP : Contract Activity Package

ความเป็นมาของสัญญาการเรียน
                การสอนโดยใช้สัญญาการเรียนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา  ซึ่งใช้เป็นเทคนิคในการสอนแบบรายบุคคลที่ใช้กันมานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 – 1930 (Yarber, 1974 : 396 ; Klingstedt, 1983 : 27 อ้างถึงใน ทิพวัลย์ คำคง, 2533) โดยในตอนแรกเป็นการสอนในลักษณะของวิธีการให้ระดับผลการเรียน  โดยใช้สัญญาการเรียน (The  Grade  Contract)  คือ  เป็นข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนในการกำหนดหัวข้อเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในด้านปริมาณ  ความคาดหวัง  และคุณภาพของงาน  ซึ่งผู้เรียนต้องทำให้สำเร็จตามนั้น  เพื่อที่จะได้รับผลการเรียนตามที่ผู้เรียนต้องการ  (Yarber, 1974 : 396)  ซึ่งสอดคล้องกับที่ สจ๊วต และ แชงค์  (Stewart  and  Shank, 1973 : 31)  ได้กล่าวว่าเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาสัญญาการเรียนมีประโยชน์ในการใช้เป็นอุบายในการกระตุ้น  และถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้ในการสนับสนุนผู้เรียนให้ทำงานเพื่อให้ได้รับระดับคะแนนตามที่เลือกไว้  การสอนโดยใช้สัญญาการเรียนกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในช่วงปี ค.ศ. 1970 – 1979  (Klingstedt, 1983 : 27)  ต่อมาปรัชญาทางการเรียนได้เปลี่ยนแปลงไป  สัญญาการเรียนได้ถูกออกแบบใหม่  เพื่อให้สามารถใช้เป็นแผนวิธี (Strategy)  ทางการสอนที่ให้ประสิทธิผลในการศึกษาร่วมสมัย  (Stewart  and  Shank, 1973 : 31)  นั่นคือเป็นการสอนแบบรายบุคคลที่สามารถสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ดีวิธีหนึ่ง

ความหมายของ สัญญาการเรียน
                มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “สัญญาการเรียน”  ไว้มากมาย  สามารถจัดกลุ่มของความหมายได้ดังนี้ (อ้างถึงในทิพวัลย์ คำคง, 2533)
                กลุ่มแรกให้ความหมายของสัญญาเรียนว่าเป็นข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนคือ
                บลูกเกน (Brueggen)  ให้ความหมายของสัญญาการเรียนว่าเป็นข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะเรียน  วิธีการเรียนที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนั้นรวมทั้งเวลาที่จะใช้ในการเรียน (Brueggen, Weber, Sletten, and Einer, 1970 : 32)
                เมอร์เรย์  (Murray, 1974: 74) ได้กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่าสัญญาการเรียนเป็นข้อตกลงระหว่างผู้เรียนแต่ละคนกับผู้สอนเกี่ยวกับงานที่จะทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดให้
                กลุ่มที่สองให้ความหมายของสัญญาการเรียนว่าเป็นสิ่งที่ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันเขียนขึ้นมาคือ
                บาร์โลว์ (Barlow, 1974 : 441)  ยังคงกล่าวไว้ว่า  เป็นเอกสารที่ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันพิจารณาเขียนขึ้นมา  โดยเจาะจงผู้เรียนต้องการจะเรียนอะไรและอย่างไรในระยะเวลาเท่าใด  ผู้สอนจะเป็นผู้เตรียมแหล่งวิทยาการและอำนวยความสะดวก  ส่วนผู้เรียนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมการเรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการเรียนของเนื้อหาที่เรียนให้ได้อย่างสมบูรณ์
                แซมเบอร์ลิน (Chamberlin, 1975 : 34)  ได้ให้นิยามของคำนี้ว่า  หมายถึง  ข้อกำหนดที่เขียนขึ้นเพื่อ กับ หรือ โดยผู้เรียนในการเรียนอย่างอิสระ
                ส่วน คลิงสเตด์ท (Klingstedt, 1983 : 127)  ให้คำจำกัดความของสัญญาการเรียนว่าไว้สอดคล้องกับบาร์โลว์ว่า  เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นเพื่อ โดย หรือกับผู้เรียน  โดยกำหนดว่าผู้เรียนจะเรียนอะไรและอย่างไรในเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้เตรียมการให้การสนับสนุน
                กลุ่มสุดท้ายให้ความหมายของสัญญาการเรียนว่าเป็นแผนหรือวิธีการในการเรียนคือ
                เวปสเตอร์ (Webster  อ้างถึงใน Stewart  and  Shank, 1973 : 31)  กล่าวว่าสัญญาการเรียนเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในกิจกรรมการเรียน  เพื่อให้ผู้เรียนคนหนึ่งทำงานให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนดด้วยอัตราเร็วช้าของตนเองภายใต้การสอนเป็นรายบุคคล
                คริสติน (Christen, 1976 : 24)  ให้ความหมายของ สัญญาการเรียน ว่า  เป็นแผนที่ผู้สอนและผู้เรียนหรือกลุ่มของผู้เรียนทำความตกลงกันขึ้นมา  ซึ่งแผนนี้บรรจุจำนวน งานที่จะทำให้เสร็จสมบูรณ์ในจำนวนเวลาที่ระบุไว้
                คอทเลอร์ (Cotler, 1977)  กล่าวถึง สัญญาการเรียนว่า  หมายถึง ชุดรายการกิจกรรมการเรียน (Activities)  และภาระงาน  (Tasks)  ที่ผู้เรียนผู้หนึ่งร่วมกันกับผู้สอนสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนเรื่องหนึ่ง  ซึ่งจะมีภาระงานย่อยๆ ที่ผู้เรียนจะต้องทำให้เสร็จตามกำหนดเวลาที่จะส่ง  รวมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องใช้เรียน  เอกสารต่างๆหรือโครงการต่างๆที่จะต้องทำไว้ด้วย
                สุนันท์ สังข์อ่อง  (2526  หน้า 131 )  ให้นิยามของ  สัญญาการเรียนว่า  เป็นรายการของกิจกรรมหรืองานที่ผู้เรียนยินดีตกลงทำด้วยความเต็มใจ  ซึ่งผู้เรียนจะได้รับเกรดตามที่ได้กำหนดไว้หากงานที่ได้รับมอบหมายยังไม่เป็นที่น่าพอใจผู้เรียนยินดีจะทำซ้ำหรือทำใหม่อีก

สรุปความหมายของสัญญาการเรียน
สัญญาการเรียน (Learning Contract) หมายถึง ข้อตกลงระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เกี่ยวกับวัตถุประสงค์การเรียน เนื้อหา วิธีการเรียน แหล่งวิทยาการ และการวัดผล ตามความเหมาะสมของผู้เรียน โดยผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมให้เสร็จภายในช่วงเวลาที่กำหนด และผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาในด้านต่างๆ

ความหมายของ CAP
CAP :  An instructional resource/ material/ strategy that guides students through an   independent learning experience.  A series of objectives are presented which the student masters  by completing activities  selected. (CAP :  เป็นสื่อการสอนที่จะนำนักเรียนให้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยประสบการณ์ของตนเอง โดยนักเรียนต้องเลือกทำกิจกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้)

ทฤษฎีจิตวิทยาและแนวคิดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนโดยใช้ CAP
                โรเจอร์ (Rogers,1977 อ้างถึงใน ทิพวัลย์  คำคง, 2533) นักจิตวิทยาแนวมนุษยนิยม ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นว่า ควรเป็นการเรียนรู้เพื่อการเป็นอิสระดังนั้นการเรียนรู้ในทัศนะของโรเจอร์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มีความหมายจากประสบการณ์ด้วยตนเอง โดยชัยนาถ นาคบุปผา, 2530 (อ้างถึงใน ทิพวัลย์  คำคง, 2533) กล่าวว่า การพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายนั้น ผู้เรียนต้องสามารถตอบสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็นโดยอิสระ ผู้เรียนแต่ละคนมีโอกาสเลือกแนวทางใหม่ได้ตามความสนใจ มีการซักถามและวิธีการศึกษาค้นคว้ารวมถึงจัดกิจกรรรมสร้างเสริมประสบการณ์กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้สอนทำหน้าที่ให้การส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนทำการศึกษาจนแน่ใจในผลการเรียนของตนและพร้อมที่จะสอบ ก็ขอเข้าทำการประเมินตนเองกับผู้สอน ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะมีการวางแผนการประเมินผลร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
                                                                                                               
CAP : is ideal for students who have been identified as: (CAP เหมาะกับผู้เรียนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้)
Motivated  and  persistent (มีแรงจูงใจในการเรียน)
Having  several  perceptual strengths (มีจุดแข็งในการรับรู้ที่หลากหลาย)
Prefering   to  work  alone (พึงพอใจที่จะทำงานเพียงลำพัง)
Non – conforming (low on responsibility) (มีความรับผิดชอบสูง)

Advantages of CAP (ข้อดีของการเรียนการสอนโดยใช้ CAP)
Self - Pacing (ผู้เรียนสามารถเรียนตามอัตราความเร็ว-ช้าของตนเอง )
Addresses varied Academic levels (สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหลากหลายระดับความรู้)
Fosters Independence (ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเรียนรู้ตามความชอบ
ของตนเอง )
Reduces Frustration and Anxiety (ลดความผิดหวังและวิตกกังวลในการเรียน)
Capitalized on Individual student Interests (สนับสนุนความสนใจของผู้เรียนเป็น
รายบุคคล โดยผู้เรียนจะเลือกได้ตามความสนใจของตนเอง)
The nonreader (เป็นการแก้ปัญหาผู้ที่ไม่มีความสามารถหรือถนัดทางการอ่าน โดยการ
เรียนจาก CAP ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่ออื่นๆที่ไม่ใช่หนังสือเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นเทปเสียง วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ตามความถนัดของตัวเอง)

แนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สัญญาการเรียน
                แนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สัญญาการเรียนมี 4  แนวทาง Thorwald  Esbensen,1973 (อ้างในจันทร์ฉาย  เตมิยาคาร, 2529 : 9 - 17 อ้างถึงในทิพวัลย์ คำคง, 2533 : 4 - 5)
          1.  ครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนส่วนผู้เรียนมีอิสระในการ
เลือกเนื้อหา วิธีการเรียนตามความสนใจ
                2.  ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกวัตถุประสงค์การเรียนตามที่ผู้สอนกำหนดไว้และเลือกเนื้อหา
วิธีการเรียนตามความสนใจ
                3.  ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนและกำหนดขอบเขตของเนื้อหาเอง  โดยคำนึงถึงความต้องการของหลักสูตร  และเลือกวิธีการเรียนเองตามความสนใจ
                4.  ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน  เนื้อหาและวิธีการเรียนตามความสนใจของตนเอง
                วิธีที่ 1  มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการเรียนการสอนในระบบการศึกษาไทยมากที่สุด  เนื่องจากช่วยทำให้ผู้เรียนจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามความต้องการของหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียน  อีกประการหนึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่ยังไม่เคยชินกับการเรียนโดยวิธีนี้  ไม่สามารถวิเคราะห์ความต้องการ และความสามารถของตนเองได้ดีพอ  อีกทั้งจะเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบพฤติกรรม       ขั้นสุดท้ายในการเรียนของตนเองได้ถูกต้องและสะดวกขึ้น  โดยเฉพาะผู้เรียนที่อยู่ในระดับประถมศึกษา (ทิพวัลย์  คำคง,2533 : 5)

โครงสร้างของ  CAP
                1.     A diagnostic test ข้อสอบวินิจฉัย
                        เพื่อวินิจฉัยผู้เรียนแต่ละคนว่ามี จุดแข็ง จุดอ่อน (child’s strengths and weaknesses) โดยดูว่าสิ่งใดที่ผู้เรียนรู้แล้วในหัวเรื่องที่จะเรียนหรือมีสิ่งใดที่ยังไม่รู้ (already knows, still must learn) และเพื่อศึกษา จริตการเรียน (learning style) และความสนใจหลัก (major interests) ของผู้เรียน
                2.     A pretest ข้อสอบวัดความรู้ก่อนเรียน ซึ่งอาจเป็นข้อสอบฉบับเดียวกับ A diagnostic test ก็ได้
                3.     The behavioral objectives จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
        3.1 จุดประสงค์ควรมีประมาณ 3 - 5 ข้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหา อายุ และความสามารถ
ของผู้เรียน
3.2 จุดประสงค์ต้องกำหนดว่า
1) อะไรคือสิ่งที่นักเรียนต้องเรียน คือเนื้อหาต่างๆ ที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้
2) นักเรียนจะสามารถทำได้อย่างไรในสิ่งที่เขาเรียน โดยอาจจะเป็นในเรื่องความรู้
เฉพาะ การนำไปปรับใช้ หรือทักษะต่างๆ
3) ระดับของประสิทธิภาพที่คาดหวัง
                4.     Activity alternatives กิจกรรมที่เลือก
                        กิจกรรมจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
                        4.1  กิจกรรมอิสระ (independent) นักเรียนอาจจะทำเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆก็ได้ กิจกรรมที่ให้เลือกนี้ต้องสอดคล้องตามจุดประสงค์ และต้องมีลักษณะหลากหลายตามทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligence) ของ Howard Gardners ที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องมีความสามารถในการรับรู้ แต่ต่างวิธีกัน นั่นคือกิจกรรมต้องตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้ง 4 ลักษณะคือ
                        A (Auditory)   การฟัง
                        V (Visual)  การดู  เช่น Creating  and  solving  puzzles,  artistic  representations,  
pictures , drawing or hand – eye  coordination  activities)
                        T (Tactual)  การสัมผัส เช่น touch, manipulation of objects or movement using  your hands.
                        K (Kinesthetic) การเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น body and muscular movement, acting, performing, sports or  building objects.
                        4.2 กิจกรรมกลุ่มหรือ Small - Group Techniques
                        ต้องมีอย่างน้อย 3  กลุ่ม โดยผู้เรียนกลุ่มเหล่านี้ จะเป็นนักเรียนที่รวมกลุ่มกันใหม่ และจะได้นำเสนอข้อมูลใหม่ที่เป็นความรู้ในระดับที่สูงขึ้น และกลุ่มจะเปลี่ยนชื่อไปตามกิจกรรมที่ทำ เช่น กิจกรรม Team Learning, กิจกรรม Circle of knowledge และกิจกรรม Brainstorming
                5.     Reporting  alternatives การรายงานผลการเรียนรู้ที่เลือก (การวัดผล)
                        เป็นส่วนที่ผู้เรียนได้แสดงออกถึงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ อย่างหลากหลายรูปแบบ    ตามความถนัดของตนเอง เช่น การเขียนจดหมาย เขียนบทกลอน เขียนเล่าเรื่อง วาดภาพ เขียน Poster เขียนบทScriptโทรทัศน์ จัดนิทรรศการ สร้างหุ่นจำลอง เขียนเกมส์ เล่านิทาน ร้องเพลง หรือการแสดงต่างๆ
6.     Media resource alternatives  แหล่งวิทยาการที่เลือก
                        เป็นแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งสืบค้นข้อมูล  ที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนตามวัตถุประสงค์  ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ต้องเปิดกว้างแก่ผู้เรียนได้ศึกษาในหลายๆทาง ต้องมั่นใจว่าแหล่งเรียนรู้นั้นสนองตอบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกด้านทั้ง  Visual, Auditory, TactualและKinesthetic ดังนั้นแหล่งเรียนรู้อาจจะประกอบไปด้วย book, games, media (VDO, Film, สารคดี) tapes, people, teacher-made resources, website และ manipulatives
การที่ผู้สอนหรือผู้ออกแบบการเรียน เปิดทางเลือกให้กับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นแหล่ง
วิทยาการ   กิจกรรม การรายงาน ได้อย่างหลากหลายเท่าใด ก็จะแสดงว่าผู้สอนหรือผู้ออกแบบสามารถวินิจฉัยผู้เรียนและจัดทางเลือกเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้มากเท่านั้น
                7.     Self- assessment test (Self-test) แบบประเมินตนเองของผู้เรียน
                        เป็นแบบทดสอบที่ผู้เรียนทำในระหว่างการทำกิจกรรม ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะขอคำเฉลยจากครูเพื่อตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง หรืออาจจะเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำในระหว่างทำกิจกรรม เพื่อทราบความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนเอง
                8.     Terminal teacher assessment แบบประเมินของครูหรือ Posttest
เป็นการประเมินจากครูผู้สอน เพื่อดูว่าผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ทุก
ข้อหรือไม่ โดยข้อสอบจะต้องครอบคลุมทุกจุดประสงค์
9.       Media Resource Alternative Review เป็นแหล่งความรู้เพิ่มเติม
                10.  Enrichment objectives จุดประสงค์เพิ่มเติม
                        ในส่วนที่ 9 และ10 ซึ่งเป็นแหล่งความรู้เพิ่มเติมและจุดประสงค์เพิ่มเติมนี้ จะใช้ใน 2กรณี ดังนี้
                        1. ผู้เรียนสำเร็จหรือสิ้นสุดสัญญาอย่างรวดเร็ว และยังมีความสนใจที่จะทำสัญญาต่อ ผู้สอนจำต้องเพิ่มจุดประสงค์ที่มีความซับซ้อนหรือหลากหลาย รวมทั้งเพิ่ม Media Resource Alternative เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างลึกซึ้งหรือเข้มข้นภายในความสนใจของเขา
                        2. ผู้เรียนที่ได้คะแนนต่ำหรือไม่ผ่านการสอบ Terminal แต่ยังต้องการใช้สัญญาการเรียนอยู่ ดังนั้นครูผู้สอนต้องออกแบบจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่มีจำนวนน้อยและมีความซับซ้อนหรือยากน้อยลง และครูผู้สอนอาจจะให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนแหล่งเรียนรู้ก่อนที่จะให้ทำสัญญาใหม่
                        กรณีที่ผู้เรียนที่ได้คะแนนต่ำหรือไม่ผ่านการสอบ Terminal อาจจะต้องการที่จะใช้วิธีการสอนแบบอื่นเพื่อให้สำเร็จตามจุดประสงค์ของสัญญาจึงไม่ควรให้ทำสัญญาเพิ่ม

ส่วนประกอบของคู่มือนักเรียน
            Colorful cover with descriptive title
หน้าปกต้อง design ให้มีสีสันน่าสนใจพร้อมกับต้องมีหัวเรื่องหรือเป้าหมายที่ผ่านการ
วิเคราะห์มาแล้ว (Analytic Title Objectives)
    A Pretest  ข้อสอบวัดความรู้ก่อนเรียน
    A Contract  สัญญา   ประกอบไปด้วย
-          จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-          ชื่อของนักเรียนที่ทำสัญญา
-          วันที่เริ่มทำสัญญา
-          กิจกรรมที่นักเรียนเลือกทำของแต่ละจุดประสงค์
-          คะแนนสอบครั้งสุดท้าย
-          ลายเซ็นของนักเรียน
-          ลายเซ็นของครู
                    The objectives with activity and reporting alternatives จุดประสงค์ พร้อมกับ
กิจกรรมและการรายงานผลการเรียนรู้ (การวัดผล)
                    Resource Alternatives  แหล่งวิทยาการ
                    Small - Group Techniques กลุ่มเทคนิค
      Test  ประกอบไปด้วย  Self – test, Posttest

วิธีการการเรียน (การสอน)
                    ขั้นที่ 1 ก่อนการทำสัญญา โดยผู้สอนจะไปพบปะผู้เรียนทั้งหมดเพื่อบอกถึงประโยชน์วิธีการเรียนแบบสัญญาการเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กำหนดวิธีการเรียน เวลาในการเรียน แหล่งเรียนรู้และวิธีการวัดประเมินผลด้วยตนเอง พร้อมทั้งชี้แจงวิธีการเรียนจนผู้เรียนเข้าใจดี       ในโอกาสนี้ผู้สอนอาจใช้ A Diagnostic test หรือแบบสอบถามง่ายๆ เพื่อสำรวจความถนัด ความสนใจ วิธีการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนและสำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียนแต่ละคน ขั้นตอนต่อไปผู้สอนอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อทราบรายละเอียดในวิธีการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนและเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนด้วย
            ขั้นที่ 2 การทำสัญญา เป็นขั้นของการเจรจาระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อเลือกวัตถุประสงค์ เลือกแหล่งวิทยาการ กิจกรรมและเวลาในการทำกิจกรรม การกำหนดเกณฑ์การประเมิน และการทำสัญญา ทั้งนี้การเจรจาจะเป็นไปตามแนวทางการเรียนแบบสัญญาการเรียนที่ผู้สอนได้เลือกไว้ตั้งแต่แรก ทั้งนี้จะขอเสนอแนะ ข้อควรคำนึงหรือข้อควรพิจารณาในการเจรจา   แต่ละขั้นตอนไว้ดังนี้
                        Ø 2.1 ขั้นการเลือกวัตถุประสงค์ การเจรจาเรื่องวัตถุประสงค์อาจจะข้ามไปได้ ถ้าหากทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้เลือกแนวการเรียน แบบที่ผู้สอนเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์เอง แต่ถ้าเป็นแบบที่ให้ผู้เรียนเลือกหรือกำหนดวัตถุประสงค์เองนั้น ผู้สอนอาจกำหนดวัตถุประสงค์ไว้กว้างๆ และให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะเอง ข้อควรคำนึงในการเลือกวัตถุประสงค์ คือผู้สอนต้องช่วยผู้เรียนเลือกวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมตามเนื้อหา โดยจะต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้เรียน
                        Ø 2.2 ขั้นเลือกแหล่งวิทยาการและกิจกรรม ผู้เรียนสามารถเลือกแหล่งวิทยาการที่ผู้สอนหาไว้ให้ หรือจะกำหนดแหล่งวิทยาการของตนเองก็ได้ เช่นเดียวกันในการเลือกปฏิบัติกิจกรรมนั้นผู้เรียนจะสามารถเลือกกิจกรรมที่ผู้สอนได้นำเสนอไว้หรือผู้เรียนจะได้นำเสนอกิจกรรมอื่นๆที่เขาสนใจก็ได้ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของครูที่จะต้องพิจารณาว่าแหล่งวิทยาการและกิจกรรมที่ผู้เรียนกำหนดเองนั้นจะสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้หรือไม่  ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะกำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมตามอัตราความช้า-เร็วตามความสามารถของตนเอง ซึ่งครูต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ระดับเอกัตภาพของแต่ละคนและระดับของชั้นเรียน (ชั้นเรียนต่ำใช้ระยะเวลาสั้น ชั้นเรียนสูงใช้ระยะเวลายาว) อนึ่งการกำหนดเวลานั้น อาจจะกำหนดเวลาของแต่ละกิจกรรมและเวลารวมทั้งหมดก็ได้
                        Ø 2.3 ขั้นกำหนดเกณฑ์การประเมินผล ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นการตีค่าสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียน ซึ่งผู้สอนจะทำการตกลงร่วมกับผู้เรียนเพื่อจะช่วยผู้เรียนให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ โดยให้ผู้เรียนได้แสดงเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร เมื่อไหร่ และต้องอยู่บนพื้นฐานที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งนี้การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนแต่ละคนนั้น แม้ว่าผู้สอนต้องพิจารณาที่ระดับความสามารถของผู้เรียน แต่ผู้สอนจะต้องมีเกณฑ์มาตรฐานที่อยู่ในใจแล้วพยายามกระตุ้นผู้เรียนให้บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นด้วย
           Ø 2.4 ขั้นการทำสัญญา เป็นขั้นที่ทำหลังจากการเจรจาตกลงตามขั้นตอนต่างๆแล้ว
โดยผู้เรียนจะเขียนสัญญาตามแบบฟอร์มที่เหมาะสม และมีการลงนามร่วมกัน ผู้สอนและผู้เรียนเก็บสัญญาไว้คนละฉบับเป็นหลักฐาน
                    ขั้นที่ 3 การทำกิจกรรมระหว่างมีสัญญา  ในขั้นตอนนี้ มีกิจกรรมที่ผู้เรียนจะไปปฏิบัติตามที่ได้สัญญาไว้ โดยแบ่งการทำกิจกรรมเป็น 2 ลักษณะคือ
                        Ø 1. ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมอิสระ ซึ่งจะสามารถปฏิบัติกิจกรรมเดี่ยว หรือเป็นคู่    กลุ่มเล็กก็ได้ถ้าหากมี learning style ที่เหมือนกัน โดยผู้สอนจะมีหน้าที่ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ เมื่อผู้เรียนมีความต้องการ โดยจะต้องเปิดโอกาสและให้เวลาแก่ผู้เรียน ซึ่งอาจจะทำเป็นรูปแบบของตารางพบปะผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรืออาจบอกเวลาว่างของผู้สอนไว้ให้ผู้เรียนมาพบตามความสมัครใจ ซึ่งข้อดีก็คือจะทำให้ผู้สอนได้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนได้อีกด้วย     เมื่อครบตามกำหนดเวลาแล้วผู้เรียนจะต้องส่งหรือนำเสนอผลงานให้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือครูผู้สอน ซึ่งครูผู้สอนต้องประเมินผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่ได้ตกลงตั้งแต่แรก และต้องไม่ลืมการเสริมแรงหรือให้รางวัลแก่ผู้เรียนที่ทำงานได้สำเร็จ
                        Ø 2. ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม อย่างน้อย 3 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบ ดังนี้
ð1. กิจกรรมของ Team Learning การเรียนรู้เป็นทีม โดยจะมีจำนวนผู้เรียน 4-5
คนต่อ 1 กลุ่ม ผู้เรียนจะได้อ่านเนื้อเรื่องและตอบคำถาม ซึ่งจะเริ่มจากคำถามที่ตอบได้ง่ายๆ ข้อต่อไป  จะเป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดและในข้อสุดท้ายจะเป็นคำถามหรือคำสั่งให้ผู้เรียนตอบ   โดยใช้การสร้างสรรค์ความคิดเช่นการแต่งเป็นบทกลอน เพลงrap บทscriptโทรทัศน์ บทบาทสมมุติ การวาดภาพ การทำposter หรือเกมส์
ð2. กิจกรรมของ Circle of Knowledge วงกลมความรู้ โดยจะมีจำนวนผู้เรียน  
4-5 คนต่อ 1 กลุ่ม ผู้เรียนจะนั่งเป็นวงกลมหันหน้าเข้ากัน ผู้สอนจะถามคำถามหรือปัญหา 1 ปัญหาและกำหนดเวลาสั้นๆให้ผู้เรียนทุกคนช่วยกันแสดงคำตอบหรือความคิดโดยการพูดแบบกระซิบและจะมีผู้บันทึกคำตอบของทุกคนไว้ หลังจากนั้นครูจะอนุญาตให้กลุ่มเรียงลำดับข้อคำตอบที่ถูกต้องอีกครั้งและครูจะเฉลยไปพร้อมๆกันโดยผู้เรียนกลุ่มอื่นจะเป็นฝ่ายให้คะแนน
ð3. กิจกรรม Brainstorming ระดมสมอง โดยจะมีจำนวนผู้เรียน 5-10 คนต่อ 1
กลุ่ม ผู้เรียนจะนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลมรอบๆผู้บันทึก โดยผู้บันทึกจะมีกระดาษแผ่นขนาดใหญ่ กระดานดำหรือ overhead และmarker ครูจะกำหนดให้นักเรียนคิดคำถามที่เป็นการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งและให้นักเรียนแสดงคำตอบอย่างสร้างสรรค์
   ð4. กิจกรรม Role Playing บทบาทสมมุติ  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมี
ความกล้าและเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีลักษณะการเรียนรู้แบบ kinesthetic ได้เรียนรู้ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
                    ขั้นที่ 4 การสิ้นสุดสัญญา
                        1. ก่อนสิ้นสุดสัญญา หลังจากการทำกิจกรรมต่างๆเสร็จแล้ว ผู้สอนอาจนำเสนอผลงานของนักเรียนทุกคนในลักษณะต่างๆ เช่น การจัดทำเป็นนิทรรศการในห้องสมุด หรือจัดเป็นนิทรรศการไว้มุมใดของห้องหรือจัดแสดงบนป้ายนิเทศ ส่วนผลงานของนักเรียนที่เป็นการใช้ทักษะหรือการแสดงการเคลื่อนไหวของร่างกาย ครูสามารถใช้การบันทึก VDO และผู้อื่นสามารถเปิดเข้าชมได้
                        2. ผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบ ซึ่งมี 2 ชุดคือ Self- assessment test ถ้าหากผู้เรียนไม่พึงพอใจในคะแนนของตนเอง ผู้เรียนอาจร้องขอเพื่อใช้แหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ตนเองได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเมื่อตนเองมีความพร้อมแล้วจึงขอทำ แบบทดสอบ Terminal teacher assessment
โดย     - นักเรียนที่สอบผ่าน ถือว่า สิ้นสุดสัญญา
            - นักเรียนที่สอบไม่ผ่าน ให้ไปเรียนซ่อมเสริมโดยใช้ Media Resource Alternative Review และ Enrichment objectives
            - นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริม สอบผ่าน ถือว่าสิ้นสุดสัญญา
            - นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริม สอบไม่ผ่าน ถือว่า สัญญาใช้ไม่ได้ ต้องเรียนโดยใช้เทคนิควิธีการอื่นๆ

แหล่งอ้างอิง
ทิพวัลย์  คำคง.  (2533).  การสอนโดยใช้สัญญาการเรียน : การวิเคราะห์ทักษะการสอน การใช้เวลา
                เรียนของนักเรียนและผลการเรียนรู้.  วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตร
                และการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
James E. Duane.  (1973).  Individualized Instruction Programs and Materials.  New Jersey :
                Educational Technology Publications Englewood Cliffs.
http://lawteaching.org/resources/lawreviewarticles/gonzagalawreview/2002/boyle-robin.pdf
http://contractactivitypackage.wetpaint.com/sitemap