จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

CAP : Contract Activity Package

CAP : Contract Activity Package

ความเป็นมาของสัญญาการเรียน
                การสอนโดยใช้สัญญาการเรียนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา  ซึ่งใช้เป็นเทคนิคในการสอนแบบรายบุคคลที่ใช้กันมานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 – 1930 (Yarber, 1974 : 396 ; Klingstedt, 1983 : 27 อ้างถึงใน ทิพวัลย์ คำคง, 2533) โดยในตอนแรกเป็นการสอนในลักษณะของวิธีการให้ระดับผลการเรียน  โดยใช้สัญญาการเรียน (The  Grade  Contract)  คือ  เป็นข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนในการกำหนดหัวข้อเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในด้านปริมาณ  ความคาดหวัง  และคุณภาพของงาน  ซึ่งผู้เรียนต้องทำให้สำเร็จตามนั้น  เพื่อที่จะได้รับผลการเรียนตามที่ผู้เรียนต้องการ  (Yarber, 1974 : 396)  ซึ่งสอดคล้องกับที่ สจ๊วต และ แชงค์  (Stewart  and  Shank, 1973 : 31)  ได้กล่าวว่าเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาสัญญาการเรียนมีประโยชน์ในการใช้เป็นอุบายในการกระตุ้น  และถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้ในการสนับสนุนผู้เรียนให้ทำงานเพื่อให้ได้รับระดับคะแนนตามที่เลือกไว้  การสอนโดยใช้สัญญาการเรียนกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในช่วงปี ค.ศ. 1970 – 1979  (Klingstedt, 1983 : 27)  ต่อมาปรัชญาทางการเรียนได้เปลี่ยนแปลงไป  สัญญาการเรียนได้ถูกออกแบบใหม่  เพื่อให้สามารถใช้เป็นแผนวิธี (Strategy)  ทางการสอนที่ให้ประสิทธิผลในการศึกษาร่วมสมัย  (Stewart  and  Shank, 1973 : 31)  นั่นคือเป็นการสอนแบบรายบุคคลที่สามารถสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ดีวิธีหนึ่ง

ความหมายของ สัญญาการเรียน
                มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “สัญญาการเรียน”  ไว้มากมาย  สามารถจัดกลุ่มของความหมายได้ดังนี้ (อ้างถึงในทิพวัลย์ คำคง, 2533)
                กลุ่มแรกให้ความหมายของสัญญาเรียนว่าเป็นข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนคือ
                บลูกเกน (Brueggen)  ให้ความหมายของสัญญาการเรียนว่าเป็นข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะเรียน  วิธีการเรียนที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนั้นรวมทั้งเวลาที่จะใช้ในการเรียน (Brueggen, Weber, Sletten, and Einer, 1970 : 32)
                เมอร์เรย์  (Murray, 1974: 74) ได้กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่าสัญญาการเรียนเป็นข้อตกลงระหว่างผู้เรียนแต่ละคนกับผู้สอนเกี่ยวกับงานที่จะทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดให้
                กลุ่มที่สองให้ความหมายของสัญญาการเรียนว่าเป็นสิ่งที่ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันเขียนขึ้นมาคือ
                บาร์โลว์ (Barlow, 1974 : 441)  ยังคงกล่าวไว้ว่า  เป็นเอกสารที่ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันพิจารณาเขียนขึ้นมา  โดยเจาะจงผู้เรียนต้องการจะเรียนอะไรและอย่างไรในระยะเวลาเท่าใด  ผู้สอนจะเป็นผู้เตรียมแหล่งวิทยาการและอำนวยความสะดวก  ส่วนผู้เรียนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมการเรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการเรียนของเนื้อหาที่เรียนให้ได้อย่างสมบูรณ์
                แซมเบอร์ลิน (Chamberlin, 1975 : 34)  ได้ให้นิยามของคำนี้ว่า  หมายถึง  ข้อกำหนดที่เขียนขึ้นเพื่อ กับ หรือ โดยผู้เรียนในการเรียนอย่างอิสระ
                ส่วน คลิงสเตด์ท (Klingstedt, 1983 : 127)  ให้คำจำกัดความของสัญญาการเรียนว่าไว้สอดคล้องกับบาร์โลว์ว่า  เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นเพื่อ โดย หรือกับผู้เรียน  โดยกำหนดว่าผู้เรียนจะเรียนอะไรและอย่างไรในเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้เตรียมการให้การสนับสนุน
                กลุ่มสุดท้ายให้ความหมายของสัญญาการเรียนว่าเป็นแผนหรือวิธีการในการเรียนคือ
                เวปสเตอร์ (Webster  อ้างถึงใน Stewart  and  Shank, 1973 : 31)  กล่าวว่าสัญญาการเรียนเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในกิจกรรมการเรียน  เพื่อให้ผู้เรียนคนหนึ่งทำงานให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนดด้วยอัตราเร็วช้าของตนเองภายใต้การสอนเป็นรายบุคคล
                คริสติน (Christen, 1976 : 24)  ให้ความหมายของ สัญญาการเรียน ว่า  เป็นแผนที่ผู้สอนและผู้เรียนหรือกลุ่มของผู้เรียนทำความตกลงกันขึ้นมา  ซึ่งแผนนี้บรรจุจำนวน งานที่จะทำให้เสร็จสมบูรณ์ในจำนวนเวลาที่ระบุไว้
                คอทเลอร์ (Cotler, 1977)  กล่าวถึง สัญญาการเรียนว่า  หมายถึง ชุดรายการกิจกรรมการเรียน (Activities)  และภาระงาน  (Tasks)  ที่ผู้เรียนผู้หนึ่งร่วมกันกับผู้สอนสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนเรื่องหนึ่ง  ซึ่งจะมีภาระงานย่อยๆ ที่ผู้เรียนจะต้องทำให้เสร็จตามกำหนดเวลาที่จะส่ง  รวมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องใช้เรียน  เอกสารต่างๆหรือโครงการต่างๆที่จะต้องทำไว้ด้วย
                สุนันท์ สังข์อ่อง  (2526  หน้า 131 )  ให้นิยามของ  สัญญาการเรียนว่า  เป็นรายการของกิจกรรมหรืองานที่ผู้เรียนยินดีตกลงทำด้วยความเต็มใจ  ซึ่งผู้เรียนจะได้รับเกรดตามที่ได้กำหนดไว้หากงานที่ได้รับมอบหมายยังไม่เป็นที่น่าพอใจผู้เรียนยินดีจะทำซ้ำหรือทำใหม่อีก

สรุปความหมายของสัญญาการเรียน
สัญญาการเรียน (Learning Contract) หมายถึง ข้อตกลงระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เกี่ยวกับวัตถุประสงค์การเรียน เนื้อหา วิธีการเรียน แหล่งวิทยาการ และการวัดผล ตามความเหมาะสมของผู้เรียน โดยผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมให้เสร็จภายในช่วงเวลาที่กำหนด และผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาในด้านต่างๆ

ความหมายของ CAP
CAP :  An instructional resource/ material/ strategy that guides students through an   independent learning experience.  A series of objectives are presented which the student masters  by completing activities  selected. (CAP :  เป็นสื่อการสอนที่จะนำนักเรียนให้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยประสบการณ์ของตนเอง โดยนักเรียนต้องเลือกทำกิจกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้)

ทฤษฎีจิตวิทยาและแนวคิดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนโดยใช้ CAP
                โรเจอร์ (Rogers,1977 อ้างถึงใน ทิพวัลย์  คำคง, 2533) นักจิตวิทยาแนวมนุษยนิยม ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นว่า ควรเป็นการเรียนรู้เพื่อการเป็นอิสระดังนั้นการเรียนรู้ในทัศนะของโรเจอร์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มีความหมายจากประสบการณ์ด้วยตนเอง โดยชัยนาถ นาคบุปผา, 2530 (อ้างถึงใน ทิพวัลย์  คำคง, 2533) กล่าวว่า การพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายนั้น ผู้เรียนต้องสามารถตอบสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็นโดยอิสระ ผู้เรียนแต่ละคนมีโอกาสเลือกแนวทางใหม่ได้ตามความสนใจ มีการซักถามและวิธีการศึกษาค้นคว้ารวมถึงจัดกิจกรรรมสร้างเสริมประสบการณ์กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้สอนทำหน้าที่ให้การส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนทำการศึกษาจนแน่ใจในผลการเรียนของตนและพร้อมที่จะสอบ ก็ขอเข้าทำการประเมินตนเองกับผู้สอน ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะมีการวางแผนการประเมินผลร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
                                                                                                               
CAP : is ideal for students who have been identified as: (CAP เหมาะกับผู้เรียนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้)
Motivated  and  persistent (มีแรงจูงใจในการเรียน)
Having  several  perceptual strengths (มีจุดแข็งในการรับรู้ที่หลากหลาย)
Prefering   to  work  alone (พึงพอใจที่จะทำงานเพียงลำพัง)
Non – conforming (low on responsibility) (มีความรับผิดชอบสูง)

Advantages of CAP (ข้อดีของการเรียนการสอนโดยใช้ CAP)
Self - Pacing (ผู้เรียนสามารถเรียนตามอัตราความเร็ว-ช้าของตนเอง )
Addresses varied Academic levels (สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหลากหลายระดับความรู้)
Fosters Independence (ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเรียนรู้ตามความชอบ
ของตนเอง )
Reduces Frustration and Anxiety (ลดความผิดหวังและวิตกกังวลในการเรียน)
Capitalized on Individual student Interests (สนับสนุนความสนใจของผู้เรียนเป็น
รายบุคคล โดยผู้เรียนจะเลือกได้ตามความสนใจของตนเอง)
The nonreader (เป็นการแก้ปัญหาผู้ที่ไม่มีความสามารถหรือถนัดทางการอ่าน โดยการ
เรียนจาก CAP ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่ออื่นๆที่ไม่ใช่หนังสือเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นเทปเสียง วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ตามความถนัดของตัวเอง)

แนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สัญญาการเรียน
                แนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สัญญาการเรียนมี 4  แนวทาง Thorwald  Esbensen,1973 (อ้างในจันทร์ฉาย  เตมิยาคาร, 2529 : 9 - 17 อ้างถึงในทิพวัลย์ คำคง, 2533 : 4 - 5)
          1.  ครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนส่วนผู้เรียนมีอิสระในการ
เลือกเนื้อหา วิธีการเรียนตามความสนใจ
                2.  ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกวัตถุประสงค์การเรียนตามที่ผู้สอนกำหนดไว้และเลือกเนื้อหา
วิธีการเรียนตามความสนใจ
                3.  ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนและกำหนดขอบเขตของเนื้อหาเอง  โดยคำนึงถึงความต้องการของหลักสูตร  และเลือกวิธีการเรียนเองตามความสนใจ
                4.  ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน  เนื้อหาและวิธีการเรียนตามความสนใจของตนเอง
                วิธีที่ 1  มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการเรียนการสอนในระบบการศึกษาไทยมากที่สุด  เนื่องจากช่วยทำให้ผู้เรียนจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามความต้องการของหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียน  อีกประการหนึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่ยังไม่เคยชินกับการเรียนโดยวิธีนี้  ไม่สามารถวิเคราะห์ความต้องการ และความสามารถของตนเองได้ดีพอ  อีกทั้งจะเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบพฤติกรรม       ขั้นสุดท้ายในการเรียนของตนเองได้ถูกต้องและสะดวกขึ้น  โดยเฉพาะผู้เรียนที่อยู่ในระดับประถมศึกษา (ทิพวัลย์  คำคง,2533 : 5)

โครงสร้างของ  CAP
                1.     A diagnostic test ข้อสอบวินิจฉัย
                        เพื่อวินิจฉัยผู้เรียนแต่ละคนว่ามี จุดแข็ง จุดอ่อน (child’s strengths and weaknesses) โดยดูว่าสิ่งใดที่ผู้เรียนรู้แล้วในหัวเรื่องที่จะเรียนหรือมีสิ่งใดที่ยังไม่รู้ (already knows, still must learn) และเพื่อศึกษา จริตการเรียน (learning style) และความสนใจหลัก (major interests) ของผู้เรียน
                2.     A pretest ข้อสอบวัดความรู้ก่อนเรียน ซึ่งอาจเป็นข้อสอบฉบับเดียวกับ A diagnostic test ก็ได้
                3.     The behavioral objectives จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
        3.1 จุดประสงค์ควรมีประมาณ 3 - 5 ข้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหา อายุ และความสามารถ
ของผู้เรียน
3.2 จุดประสงค์ต้องกำหนดว่า
1) อะไรคือสิ่งที่นักเรียนต้องเรียน คือเนื้อหาต่างๆ ที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้
2) นักเรียนจะสามารถทำได้อย่างไรในสิ่งที่เขาเรียน โดยอาจจะเป็นในเรื่องความรู้
เฉพาะ การนำไปปรับใช้ หรือทักษะต่างๆ
3) ระดับของประสิทธิภาพที่คาดหวัง
                4.     Activity alternatives กิจกรรมที่เลือก
                        กิจกรรมจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
                        4.1  กิจกรรมอิสระ (independent) นักเรียนอาจจะทำเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆก็ได้ กิจกรรมที่ให้เลือกนี้ต้องสอดคล้องตามจุดประสงค์ และต้องมีลักษณะหลากหลายตามทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligence) ของ Howard Gardners ที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องมีความสามารถในการรับรู้ แต่ต่างวิธีกัน นั่นคือกิจกรรมต้องตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้ง 4 ลักษณะคือ
                        A (Auditory)   การฟัง
                        V (Visual)  การดู  เช่น Creating  and  solving  puzzles,  artistic  representations,  
pictures , drawing or hand – eye  coordination  activities)
                        T (Tactual)  การสัมผัส เช่น touch, manipulation of objects or movement using  your hands.
                        K (Kinesthetic) การเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น body and muscular movement, acting, performing, sports or  building objects.
                        4.2 กิจกรรมกลุ่มหรือ Small - Group Techniques
                        ต้องมีอย่างน้อย 3  กลุ่ม โดยผู้เรียนกลุ่มเหล่านี้ จะเป็นนักเรียนที่รวมกลุ่มกันใหม่ และจะได้นำเสนอข้อมูลใหม่ที่เป็นความรู้ในระดับที่สูงขึ้น และกลุ่มจะเปลี่ยนชื่อไปตามกิจกรรมที่ทำ เช่น กิจกรรม Team Learning, กิจกรรม Circle of knowledge และกิจกรรม Brainstorming
                5.     Reporting  alternatives การรายงานผลการเรียนรู้ที่เลือก (การวัดผล)
                        เป็นส่วนที่ผู้เรียนได้แสดงออกถึงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ อย่างหลากหลายรูปแบบ    ตามความถนัดของตนเอง เช่น การเขียนจดหมาย เขียนบทกลอน เขียนเล่าเรื่อง วาดภาพ เขียน Poster เขียนบทScriptโทรทัศน์ จัดนิทรรศการ สร้างหุ่นจำลอง เขียนเกมส์ เล่านิทาน ร้องเพลง หรือการแสดงต่างๆ
6.     Media resource alternatives  แหล่งวิทยาการที่เลือก
                        เป็นแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งสืบค้นข้อมูล  ที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนตามวัตถุประสงค์  ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ต้องเปิดกว้างแก่ผู้เรียนได้ศึกษาในหลายๆทาง ต้องมั่นใจว่าแหล่งเรียนรู้นั้นสนองตอบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกด้านทั้ง  Visual, Auditory, TactualและKinesthetic ดังนั้นแหล่งเรียนรู้อาจจะประกอบไปด้วย book, games, media (VDO, Film, สารคดี) tapes, people, teacher-made resources, website และ manipulatives
การที่ผู้สอนหรือผู้ออกแบบการเรียน เปิดทางเลือกให้กับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นแหล่ง
วิทยาการ   กิจกรรม การรายงาน ได้อย่างหลากหลายเท่าใด ก็จะแสดงว่าผู้สอนหรือผู้ออกแบบสามารถวินิจฉัยผู้เรียนและจัดทางเลือกเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้มากเท่านั้น
                7.     Self- assessment test (Self-test) แบบประเมินตนเองของผู้เรียน
                        เป็นแบบทดสอบที่ผู้เรียนทำในระหว่างการทำกิจกรรม ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะขอคำเฉลยจากครูเพื่อตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง หรืออาจจะเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำในระหว่างทำกิจกรรม เพื่อทราบความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนเอง
                8.     Terminal teacher assessment แบบประเมินของครูหรือ Posttest
เป็นการประเมินจากครูผู้สอน เพื่อดูว่าผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ทุก
ข้อหรือไม่ โดยข้อสอบจะต้องครอบคลุมทุกจุดประสงค์
9.       Media Resource Alternative Review เป็นแหล่งความรู้เพิ่มเติม
                10.  Enrichment objectives จุดประสงค์เพิ่มเติม
                        ในส่วนที่ 9 และ10 ซึ่งเป็นแหล่งความรู้เพิ่มเติมและจุดประสงค์เพิ่มเติมนี้ จะใช้ใน 2กรณี ดังนี้
                        1. ผู้เรียนสำเร็จหรือสิ้นสุดสัญญาอย่างรวดเร็ว และยังมีความสนใจที่จะทำสัญญาต่อ ผู้สอนจำต้องเพิ่มจุดประสงค์ที่มีความซับซ้อนหรือหลากหลาย รวมทั้งเพิ่ม Media Resource Alternative เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างลึกซึ้งหรือเข้มข้นภายในความสนใจของเขา
                        2. ผู้เรียนที่ได้คะแนนต่ำหรือไม่ผ่านการสอบ Terminal แต่ยังต้องการใช้สัญญาการเรียนอยู่ ดังนั้นครูผู้สอนต้องออกแบบจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่มีจำนวนน้อยและมีความซับซ้อนหรือยากน้อยลง และครูผู้สอนอาจจะให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนแหล่งเรียนรู้ก่อนที่จะให้ทำสัญญาใหม่
                        กรณีที่ผู้เรียนที่ได้คะแนนต่ำหรือไม่ผ่านการสอบ Terminal อาจจะต้องการที่จะใช้วิธีการสอนแบบอื่นเพื่อให้สำเร็จตามจุดประสงค์ของสัญญาจึงไม่ควรให้ทำสัญญาเพิ่ม

ส่วนประกอบของคู่มือนักเรียน
            Colorful cover with descriptive title
หน้าปกต้อง design ให้มีสีสันน่าสนใจพร้อมกับต้องมีหัวเรื่องหรือเป้าหมายที่ผ่านการ
วิเคราะห์มาแล้ว (Analytic Title Objectives)
    A Pretest  ข้อสอบวัดความรู้ก่อนเรียน
    A Contract  สัญญา   ประกอบไปด้วย
-          จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-          ชื่อของนักเรียนที่ทำสัญญา
-          วันที่เริ่มทำสัญญา
-          กิจกรรมที่นักเรียนเลือกทำของแต่ละจุดประสงค์
-          คะแนนสอบครั้งสุดท้าย
-          ลายเซ็นของนักเรียน
-          ลายเซ็นของครู
                    The objectives with activity and reporting alternatives จุดประสงค์ พร้อมกับ
กิจกรรมและการรายงานผลการเรียนรู้ (การวัดผล)
                    Resource Alternatives  แหล่งวิทยาการ
                    Small - Group Techniques กลุ่มเทคนิค
      Test  ประกอบไปด้วย  Self – test, Posttest

วิธีการการเรียน (การสอน)
                    ขั้นที่ 1 ก่อนการทำสัญญา โดยผู้สอนจะไปพบปะผู้เรียนทั้งหมดเพื่อบอกถึงประโยชน์วิธีการเรียนแบบสัญญาการเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กำหนดวิธีการเรียน เวลาในการเรียน แหล่งเรียนรู้และวิธีการวัดประเมินผลด้วยตนเอง พร้อมทั้งชี้แจงวิธีการเรียนจนผู้เรียนเข้าใจดี       ในโอกาสนี้ผู้สอนอาจใช้ A Diagnostic test หรือแบบสอบถามง่ายๆ เพื่อสำรวจความถนัด ความสนใจ วิธีการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนและสำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียนแต่ละคน ขั้นตอนต่อไปผู้สอนอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อทราบรายละเอียดในวิธีการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนและเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนด้วย
            ขั้นที่ 2 การทำสัญญา เป็นขั้นของการเจรจาระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อเลือกวัตถุประสงค์ เลือกแหล่งวิทยาการ กิจกรรมและเวลาในการทำกิจกรรม การกำหนดเกณฑ์การประเมิน และการทำสัญญา ทั้งนี้การเจรจาจะเป็นไปตามแนวทางการเรียนแบบสัญญาการเรียนที่ผู้สอนได้เลือกไว้ตั้งแต่แรก ทั้งนี้จะขอเสนอแนะ ข้อควรคำนึงหรือข้อควรพิจารณาในการเจรจา   แต่ละขั้นตอนไว้ดังนี้
                        Ø 2.1 ขั้นการเลือกวัตถุประสงค์ การเจรจาเรื่องวัตถุประสงค์อาจจะข้ามไปได้ ถ้าหากทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้เลือกแนวการเรียน แบบที่ผู้สอนเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์เอง แต่ถ้าเป็นแบบที่ให้ผู้เรียนเลือกหรือกำหนดวัตถุประสงค์เองนั้น ผู้สอนอาจกำหนดวัตถุประสงค์ไว้กว้างๆ และให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะเอง ข้อควรคำนึงในการเลือกวัตถุประสงค์ คือผู้สอนต้องช่วยผู้เรียนเลือกวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมตามเนื้อหา โดยจะต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้เรียน
                        Ø 2.2 ขั้นเลือกแหล่งวิทยาการและกิจกรรม ผู้เรียนสามารถเลือกแหล่งวิทยาการที่ผู้สอนหาไว้ให้ หรือจะกำหนดแหล่งวิทยาการของตนเองก็ได้ เช่นเดียวกันในการเลือกปฏิบัติกิจกรรมนั้นผู้เรียนจะสามารถเลือกกิจกรรมที่ผู้สอนได้นำเสนอไว้หรือผู้เรียนจะได้นำเสนอกิจกรรมอื่นๆที่เขาสนใจก็ได้ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของครูที่จะต้องพิจารณาว่าแหล่งวิทยาการและกิจกรรมที่ผู้เรียนกำหนดเองนั้นจะสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้หรือไม่  ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะกำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมตามอัตราความช้า-เร็วตามความสามารถของตนเอง ซึ่งครูต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ระดับเอกัตภาพของแต่ละคนและระดับของชั้นเรียน (ชั้นเรียนต่ำใช้ระยะเวลาสั้น ชั้นเรียนสูงใช้ระยะเวลายาว) อนึ่งการกำหนดเวลานั้น อาจจะกำหนดเวลาของแต่ละกิจกรรมและเวลารวมทั้งหมดก็ได้
                        Ø 2.3 ขั้นกำหนดเกณฑ์การประเมินผล ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นการตีค่าสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียน ซึ่งผู้สอนจะทำการตกลงร่วมกับผู้เรียนเพื่อจะช่วยผู้เรียนให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ โดยให้ผู้เรียนได้แสดงเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร เมื่อไหร่ และต้องอยู่บนพื้นฐานที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งนี้การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนแต่ละคนนั้น แม้ว่าผู้สอนต้องพิจารณาที่ระดับความสามารถของผู้เรียน แต่ผู้สอนจะต้องมีเกณฑ์มาตรฐานที่อยู่ในใจแล้วพยายามกระตุ้นผู้เรียนให้บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นด้วย
           Ø 2.4 ขั้นการทำสัญญา เป็นขั้นที่ทำหลังจากการเจรจาตกลงตามขั้นตอนต่างๆแล้ว
โดยผู้เรียนจะเขียนสัญญาตามแบบฟอร์มที่เหมาะสม และมีการลงนามร่วมกัน ผู้สอนและผู้เรียนเก็บสัญญาไว้คนละฉบับเป็นหลักฐาน
                    ขั้นที่ 3 การทำกิจกรรมระหว่างมีสัญญา  ในขั้นตอนนี้ มีกิจกรรมที่ผู้เรียนจะไปปฏิบัติตามที่ได้สัญญาไว้ โดยแบ่งการทำกิจกรรมเป็น 2 ลักษณะคือ
                        Ø 1. ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมอิสระ ซึ่งจะสามารถปฏิบัติกิจกรรมเดี่ยว หรือเป็นคู่    กลุ่มเล็กก็ได้ถ้าหากมี learning style ที่เหมือนกัน โดยผู้สอนจะมีหน้าที่ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ เมื่อผู้เรียนมีความต้องการ โดยจะต้องเปิดโอกาสและให้เวลาแก่ผู้เรียน ซึ่งอาจจะทำเป็นรูปแบบของตารางพบปะผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรืออาจบอกเวลาว่างของผู้สอนไว้ให้ผู้เรียนมาพบตามความสมัครใจ ซึ่งข้อดีก็คือจะทำให้ผู้สอนได้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนได้อีกด้วย     เมื่อครบตามกำหนดเวลาแล้วผู้เรียนจะต้องส่งหรือนำเสนอผลงานให้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือครูผู้สอน ซึ่งครูผู้สอนต้องประเมินผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่ได้ตกลงตั้งแต่แรก และต้องไม่ลืมการเสริมแรงหรือให้รางวัลแก่ผู้เรียนที่ทำงานได้สำเร็จ
                        Ø 2. ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม อย่างน้อย 3 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบ ดังนี้
ð1. กิจกรรมของ Team Learning การเรียนรู้เป็นทีม โดยจะมีจำนวนผู้เรียน 4-5
คนต่อ 1 กลุ่ม ผู้เรียนจะได้อ่านเนื้อเรื่องและตอบคำถาม ซึ่งจะเริ่มจากคำถามที่ตอบได้ง่ายๆ ข้อต่อไป  จะเป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดและในข้อสุดท้ายจะเป็นคำถามหรือคำสั่งให้ผู้เรียนตอบ   โดยใช้การสร้างสรรค์ความคิดเช่นการแต่งเป็นบทกลอน เพลงrap บทscriptโทรทัศน์ บทบาทสมมุติ การวาดภาพ การทำposter หรือเกมส์
ð2. กิจกรรมของ Circle of Knowledge วงกลมความรู้ โดยจะมีจำนวนผู้เรียน  
4-5 คนต่อ 1 กลุ่ม ผู้เรียนจะนั่งเป็นวงกลมหันหน้าเข้ากัน ผู้สอนจะถามคำถามหรือปัญหา 1 ปัญหาและกำหนดเวลาสั้นๆให้ผู้เรียนทุกคนช่วยกันแสดงคำตอบหรือความคิดโดยการพูดแบบกระซิบและจะมีผู้บันทึกคำตอบของทุกคนไว้ หลังจากนั้นครูจะอนุญาตให้กลุ่มเรียงลำดับข้อคำตอบที่ถูกต้องอีกครั้งและครูจะเฉลยไปพร้อมๆกันโดยผู้เรียนกลุ่มอื่นจะเป็นฝ่ายให้คะแนน
ð3. กิจกรรม Brainstorming ระดมสมอง โดยจะมีจำนวนผู้เรียน 5-10 คนต่อ 1
กลุ่ม ผู้เรียนจะนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลมรอบๆผู้บันทึก โดยผู้บันทึกจะมีกระดาษแผ่นขนาดใหญ่ กระดานดำหรือ overhead และmarker ครูจะกำหนดให้นักเรียนคิดคำถามที่เป็นการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งและให้นักเรียนแสดงคำตอบอย่างสร้างสรรค์
   ð4. กิจกรรม Role Playing บทบาทสมมุติ  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมี
ความกล้าและเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีลักษณะการเรียนรู้แบบ kinesthetic ได้เรียนรู้ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
                    ขั้นที่ 4 การสิ้นสุดสัญญา
                        1. ก่อนสิ้นสุดสัญญา หลังจากการทำกิจกรรมต่างๆเสร็จแล้ว ผู้สอนอาจนำเสนอผลงานของนักเรียนทุกคนในลักษณะต่างๆ เช่น การจัดทำเป็นนิทรรศการในห้องสมุด หรือจัดเป็นนิทรรศการไว้มุมใดของห้องหรือจัดแสดงบนป้ายนิเทศ ส่วนผลงานของนักเรียนที่เป็นการใช้ทักษะหรือการแสดงการเคลื่อนไหวของร่างกาย ครูสามารถใช้การบันทึก VDO และผู้อื่นสามารถเปิดเข้าชมได้
                        2. ผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบ ซึ่งมี 2 ชุดคือ Self- assessment test ถ้าหากผู้เรียนไม่พึงพอใจในคะแนนของตนเอง ผู้เรียนอาจร้องขอเพื่อใช้แหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ตนเองได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเมื่อตนเองมีความพร้อมแล้วจึงขอทำ แบบทดสอบ Terminal teacher assessment
โดย     - นักเรียนที่สอบผ่าน ถือว่า สิ้นสุดสัญญา
            - นักเรียนที่สอบไม่ผ่าน ให้ไปเรียนซ่อมเสริมโดยใช้ Media Resource Alternative Review และ Enrichment objectives
            - นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริม สอบผ่าน ถือว่าสิ้นสุดสัญญา
            - นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริม สอบไม่ผ่าน ถือว่า สัญญาใช้ไม่ได้ ต้องเรียนโดยใช้เทคนิควิธีการอื่นๆ

แหล่งอ้างอิง
ทิพวัลย์  คำคง.  (2533).  การสอนโดยใช้สัญญาการเรียน : การวิเคราะห์ทักษะการสอน การใช้เวลา
                เรียนของนักเรียนและผลการเรียนรู้.  วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตร
                และการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
James E. Duane.  (1973).  Individualized Instruction Programs and Materials.  New Jersey :
                Educational Technology Publications Englewood Cliffs.
http://lawteaching.org/resources/lawreviewarticles/gonzagalawreview/2002/boyle-robin.pdf
http://contractactivitypackage.wetpaint.com/sitemap









1 ความคิดเห็น: