จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Theory Transaction Distance


Theory of Transactional Distance

ประวัติความเป็นมาของ Theory of Transactional Distance
Theory of Transactional Distance ทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1972 ซึ่ง Moore ได้พยายามสร้างเอกลักษณ์ของสาขาของการวิจัยทางการศึกษาที่ไม่ได้รับการยอมรับมาก่อนนี้ ทฤษฎีนี้ได้ระบุและพรรณนาว่าการสอนและการเรียนแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียน แต่สามารถเรียนในสถานที่อื่นๆ ได้ ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงได้ตอบโจทย์ปัญหาเก่าๆ ที่ว่า ลักษณะของการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลจากกัน (ครูและผู้เรียนอยู่ต่างสถานที่ ต่างเวลากัน) จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร ซึ่ง Mooreได้กล่าวว่า ลักษณะของการเรียนการสอนดังกล่าวนั้นสามารถเรียนรู้ได้โดยการเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ  นั่นคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย นั่นเอง เดิมมีชื่อว่า Distance Education หรือต่อมารู้จักในชื่อของ Distributed learning, tele-learning และ e-learning หรือรู้จักในชื่อของ open learning, blended learning และ flexi-learning

องค์ประกอบของ Transactional Distance
Transactional distance มีองค์ประกอบใหญ่ๆอยู่ 2 องค์ประกอบ คือ
1.       dialogue คือ การเรียนการสอนที่อาศัยบทสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2.       structure คือ การเรียนการสอนแบบสำเร็จรูป โดยมีโครงสร้างหรือวิธีการเรียนที่
เป็นระบบ เช่น ประกอบด้วย จุดประสงค์ เนื้อหา การนำเสนอเนื้อหา กรณีศึกษา รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว กิจกรรม แบบฝึกหัด คำถามสำหรับการอภิปราย โครงงาน การทดสอบ (สื่อการเรียนการสอน)

ลักษณะของ Transaction Distance
                ตามทฤษฎีของ Transaction Distance นั้น Distance หมายถึง ช่องว่างในการสื่อสารระหว่างครูและผู้เรียน
                Distance learning แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
more distance คือ ช่องว่างระหว่างครูกับผู้เรียนที่มีมาก (การที่ครูและผู้เรียนอยู่ต่างที่ ต่างเวลากัน)
less distance คือ ช่องว่างระหว่างครูกับผู้เรียนที่มีน้อย (การที่ครูและผู้เรียนอยู่ด้วยกัน)



ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี Transaction Distance กับการใช้สื่อ
more distance สื่อจะมีลักษณะเป็น structure มากกว่า และเป็น dialogue น้อยกว่า จึงทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง (autonomy) ได้ดีกว่า
less distance สื่อจะมีลักษณะเป็น dialogue มากกว่า และเป็น structure น้อยกว่า  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้น้อยกว่า
ตามแผนผังดังนี้


การอธิบายแผนผัง
                จากแผนผัง อธิบายได้ว่าในแนวนอนที่เป็น dialogue คือความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และในแนวตั้งที่เป็น Structure คือความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหากับผู้เรียน ถ้าเส้น distance (เส้นกลาง) ยิ่งสูงขึ้นคือช่องว่างระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนยิ่งสูงขึ้น ความเป็น dialogue จะลดต่ำลงและความเป็น structure จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เปรียบเทียบกับกรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ของ เอดการ์ เดล ดังนี้คือ


กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
ที่มา : เอ็ดการ์ เดล (Dale, 1969)
เอดการ์ เดล เป็นนักทฤษฎีในด้านการสื่อสารของมนุษย์และเทคโนโลยีการสอน ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยได้พัฒนาความคิดของบรุนเนอร์ (Bruner) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น กรวยประสบการณ์
ขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท ดังนี้
1.  ประสบการณ์ตรง  เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  ซึ่งเกิดจากการได้ปฏิบัติกิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง
2.  ประสบการณ์รอง  เป็นประสบการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้  อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน  มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป    ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้ จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มี  ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด  เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและง่ายต่อความเข้าใจ  เช่น  สถานการณ์จำลอง  หุ่นจำลอง   เป็นต้น
3.  ประสบการณ์นาฏการ เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรือใกล้เคียงกับประสบการณ์จริง  เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนด้วยเหตุที่มี ข้อจำกัดต่างๆ ได้แก่   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต  สถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม  ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้   เช่น  การแสดงละคร  บทบาทสมมุติ  เป็นต้น
4.  การสาธิต  เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นแบบอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
5.  การศึกษานอกสถานที่  เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพความเป็นจริง 
6.  นิทรรศการ  เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลาย ๆ ด้าน มาจัดแสดงผสมผสานร่วมกัน
7.  โทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ   แต่โทรทัศน์  มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนตร์  เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น  ในขณะนั้นมาให้ชมได้ในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า การถ่ายทอดสดในขณะที่ภาพยนตร์เป็น การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึงจะนำมาฉายให้ชมได้
8.  การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง เป็นประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาหรือทางหู  เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
9.  ทัศนสัญลักษณ์  เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา  
10. วจนสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา
                จากกรวยประสบการณ์ จะเห็นว่าในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้นั้น    จะสอดคล้องตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีประสบการณ์การเรียนรู้ต่ำ ลักษณะของสื่อจะมีความเป็นรูปธรรมมากและสื่อจะค่อยๆมีความเป็นนามธรรมที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งสื่อมีความนามธรรมสูงขึ้นเท่าใด ผู้เรียนก็ยิ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในการคิดวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การเลือกใช้สื่อใดๆก็ตาม ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน นั่นคือ ยิ่งผู้เรียนมีประสบการณ์ในการเรียนรู้สูง สื่อก็ต้องมีความเป็นนามธรรมสูงขึ้นตามไปด้วย
                จากกรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ของ เอดการ์ เดล จึงมีความสัมพันธ์กับ Theory of Transactional Distance คือ ยิ่งมีการใช้สื่อมากหรือระดับของสื่อมีคุณภาพสูง โดยอาศัยศักยภาพของ technologie ช่วย ทำให้relationship ระหว่างครูกับผู้เรียนลดต่ำลง และส่งเสริมความเป็น autonomy ของผู้เรียนได้มากกว่า
  
สรุป
                ดังนั้น ทฤษฎี Transactional Distance ของ Michael Moore กล่าวถึง ลักษณะของการเรียนการสอนแบบ Dialogue หรือการสอนโดยการบรรยาย จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีการใช้ Structure หรือสื่อเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งสื่อสามารถใช้สอนแทน Dialogue ได้ จึงทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีลักษณะเป็น Autonomy มาก นั่นคือผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองมากขึ้นตามลำดับนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง
Dale, Edgar. 1969 Audiovisual methods in teaching, third edition. New York: The
Dryden Press; Holt, Rinehart and Winston.
Moore, Michael Grahame. 2007 Handbook of Distance Education. New Jersey London:
Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น